Monthly Archives: พฤศจิกายน 2016

การใช้งานเวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์ (Vernier Caliper)

vernier1

           สวัสดีครับนักเรียน ผ่านไปแล้วกับการเรียนในหัวข้อ เลขนัยสำคัญ (SIGNIFICANT FIGURES) วันนี้เรามาศึกษากันต่อในหัวข้อ การใช้งานเวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์ (Vernier Caliper) กันครับ แต่ก่อนจะเรียนรู้มาดู จุดประสงค์การเรียนรู้ กันก่อนเลยครับ

  1. › บอกชนิดของเวอร์เนียร์ได้

  2. บอกหน้าที่และส่วนประกอบของเวอร์เนียร์ได้

  3. อธิบายหลักการแบ่งสเกลเวอร์เนียร์ค่าความละเอียดต่างๆ ได้

  4. อ่านค่าความละเอียดในการวัดของเวอร์เนียร์ได้

  5. บอกวิธีการใช้งานของเวอร์เนียร์ที่ถูกต้องได้

  6. บอกวิธีการบำรุงรักษาเวอร์เนียร์ได้อย่างถูกต้อง

ถ้านักเรียนเข้าใจในจุดประสงค์ดีแล้วมาศึกษาจากสไลด์ต่อไปนี้เลยครับ…

 

รับลิงค์เอกสาร Docs.com

https://doc.co/QntSXB

 

เลขนัยสำคัญ (SIGNIFICANT FIGURES)

sompondb05

          สวัสดีครับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สำหรับการเรียนในรายวิชาฟิสิกส์ 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 นี้ เราจะเริ่มศึกษาในหัวข้อที่สำคัญได้แก่ บทนำ ซึ่งกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญในการศึกษาฟิสิกส์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงขึ้นไป เราจะมาทำความรู้จักกับ เลขนัยสำคัญ (SIGNIFICANT FIGURES) นักเรียนศึกษาได้จากสไลด์ต่อไปนี้เลยครับ

จุดประสงค์การเรียนรู้

         1.นักเรียนสามารถบอกความหมายและความสำคัญของเลขนัยสำคัญได้

         2. นักเรียนสามารถบอกจำนวนเลขนัยสำคัญจากตัวเลขที่กำหนดมาให้ได้

         3. นักเรียนสามารถคำนวณหาเลขนัยสำคัญจากการบวกและลบได้

         4. นักเรียนสามารถคำนวณหาเลขนัยสำคัญจากการคุณและหารได้

รับลิงค์เอกสาร Docs.com 

https://docs.com/user778172/8025/significant-figures

ผัก 8 อย่างที่มะเร็งไม่ชอบ

สาระดีๆ นี่คือผัก 8 อย่างที่มะเร็งไม่ชอบ รู้แล้วรีบหามาทานได้เลย!!
พูดถึง มะเร็ง หรือ โรคที่หลายๆคนได้ยินเเล้วถึงกับเบือนหน้าหนีไม่อยากรู้จัก เพราะเป็นโรคที่หากเป็นแล้วทรมานจนไม่อยากจะพูดถงจริงๆ ทังนี้สาเหตุการเกิดมะเร็งเกิดได้จากหลายๆปัจจัย ดังนั้น จึงขอนำคำแนะนำข้อมูล   เกี่ยวกับ “ศัตรูของมะเร็ง” อีกหนึ่งวิธีป้องกันการเกิดมะเร็งที่คุณเองก็สามารถทำได้ เพียงแค่รับประทานอาหารต่อไปนี้…

1. ศัตรูของมะเร็งกระเพาะอาหารคือกระเทียม

2. ศัตรูของมะเร็งตับคือ เห็ด

3. ศัตรูของมะเร็งตับอ่อนคือ บร็อคโคลี่

4. ศัตรูของมะเร็งปอดคือ ผักโขม

5. ศัตรูของมะเร็งลำไส้คือ หน่อไม้น้ำ

6. ศัตรูของมะเร็งเต้านมคือ สาหร่ายทะเล

7. ศัตรูของมะเร็งผิวหนังคือ หน่อไม้ฝรั่ง

8. ศัตรูของมะเร็งปากมดลูกคือ ถั่วเหลือง

ดังนั้น เราจึงควรหันมาบริโภคศัตรูของมะเร็ง นับแต่วันนี้เป็นต้นไปค่ะ

11 วิธีง่ายๆ ห่างไกลโรคมะเร็ง

1. ดื่มน้ำที่สะอาด การลดสารที่ก่อตัวทำให้เกิดโรคมะเร็งวิธีหนึ่ง คือการดื่มน้ำที่สะอาด จากการศึกษาที่เพิ่มค้นพบใหม่จากสถิติของสถาบันมะเร็งพบว่าการดื่มน้ำสะอาดจากเครื่องกรองจะดีกว่าการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่มีคุณภาพน้ำต่ำกว่ามาตรฐาน และจากการศึกษาของสมาคมสิ่งแวดล้อมพบว่าการเก็บรักษาน้ำในเหยือกแก้ว หรือภาชนะสเตนเลส จะดีกว่าการเก็บรักษาในภาชนะพลาสติก

2. พยายามหลีกเลี่ยงการสูดดมหรือสัมผัสก๊าซขณะเติมน้ำมันรถ เพราะสารพิษที่อยู่ในอากาศสามารถเข้าสู่ปอดและหากกระเด็นสู่ผิวหนังจะทำให้เกิดมะเร็งได้

3. การหมักเนื้อสัตว์ก่อนการปรุงอาหาร การทำอาหารประเภทปิ้งย่างนั้นหากไหม้หรือมีเศษสีดำของการเผาของถ่านติดอยู่จะทำให้เกิดมะเร็งได้ ดังนั้นหากจะทำการปิ้งย่างอาหาร งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Kansas พบว่าการหมักเนื้อสัตว์เหล่านั้นก่อนการปิ้งย่างอย่างน้อยประมาณ 1 ชั่วโมงสามารถลดสารก่อมะเร็งจากการปิ้งย่างเผาได้ถึง 87%

4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำอย่างพอเพียงสามารถลดความเข้มข้นของการขับถ่ายปัสสาวะได้และลดมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นกับกระเพาะปัสสาวะได้ด้วย ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวันหรือให้ปริมาณปัสสาวะมีสีเจือจางเมื่อขับถ่ายทุกครั้ง

5. รับประทานผักผลไม้สีเขียว เพราะสารแมกนีเซียมจากพืช ผักสีเขียวช่วยลดมะเร็งลำไส้ได้โดยเฉพาะสุภาพสตรี อีกทั้งการได้รับสารแมกนีเซียมที่เพียงพอ จะช่วยให้เซลล์ในร่างกายทำงานอย่างปกติ การรับประทานผักขมครึ่งถ้วยต่อวันให้ปริมาณแมกนิเซียม 75 มิลลิกรัม ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย

6. ออกกำลังกายลดการเกิดมะเร็งเต้านม การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเผาผลาญไขมัน ดังนั้นการออกกำลังกายโดยการเดินเร็วอย่างน้อย 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึง 18%

7. ลดการส่งเสื้อผ้าไปซักแห้ง จากการวิจัยของ National Academies of Science เมื่อต้นปี 2010 ระบุว่าการซักแห้งหรือซักน้ำมันโดยสาร perc (perchloroethylene) จะมีผลให้เกิดการก่อสารมะเร็งต่อปอด ไตและตับได้เมื่อสูดดมเป็นเวลานาน ดังนั้นการใช้สารซักแห้ง ซักน้ำมันที่ทำให้ผ้าเรียบอาจไม่ปลอดภัยอีกแล้ว

8. ลดการใช้ปริมาณสารเคมีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารฟอกขาว สารเคมีในการขัดห้องน้ำ สารขจัดคราบสกปรกต่างๆ เพราะหากใช้สารเหล่านั้นเป็นเวลานาน การสูดดมหรือสัมผัสจะก่อให้เกิดมะเร็งได้ การทำความสะอาดห้องน้ำโดยใช้น้ำส้มสายชูก็เป็นทางเลือกใหม่ที่ดีไม่น้อย

9. หลีกเลี่ยงการผ่านสารรังสี ไม่ว่าจะเป็นการฉายแสงตรวจดูมะเร็งเต้านมประจำปี การทำแมมโมแกรม เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดมะเร็งถึง 4-5 เท่าเลยทีเดียว การตรวจมะเร็งโดยใช้วิธีคลำหา และไม่ผ่านรังสีอาจช่วยลดความเสี่ยงภาวะการเกิดมะเร็งได้ดีกว่า

10. ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือโดยการแนบหูเป็นเวลานาน เนื่องจากสัญญาณโทรศัพท์มีคลื่นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นการใช้โทรศัพท์โดยมีอุปกรณ์เสริมจะลดผลกระทบต่อระบบประสาทและสมองได้

11. ทาโลชั่นกันแดด เนื่องจากแสงยูวี จากแสงอาทิตย์มีปริมาณมากในปัจจุบันทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังได้ ดังนั้นการทาโลชั่นกันแดดจะช่วยลดปริมาณแสงอาทิตย์ที่จะส่งผลต่อมะเร็งผิวหนัง โดยเฉพาะคนที่ศีรษะล้าน มีผมน้อยควรทาโลชั่นกันแดดเพื่อลดปริมาณสารยูวี

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก: Share-si

ที่มา : http://www.khaozaza.com/36724

ศาสตราใหม่เพื่อครูสร้างการเรียนรู้ “เพื่อศิษย์” ในศตวรรษที่ 21

ภาพจาก : https://blog.eduzones.com/Chayapa/140687
        การศึกษาในศตวรรษที่21 ครูต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น “ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ (knowledgeworker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning person) ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้ และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills)การศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำต้องเป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องเตรียมคนไปเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง พลิกผัน และคาดไม่ถึง คนยุคใหม่ จึงต้องมีทักษะสูงในการเรียนรู้และปรับตัว

        ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21 จึงต้องพัฒนาตนเองให้มีทักษะของการเรียนรู้ด้วย และในขณะเดียวกันก็ต้องมีทักษะในการทำหน้าที่ครูในศตวรรษที่ 21 ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C

ภาพจาก : https://blog.eduzones.com/Chayapa/140687
3R ได้แก่

– Reading (อ่านออก)
– (W)Riting (เขียนได้)
– (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)

7C ได้แก่

– Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
– Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
– Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
– Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
– Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
– Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
– Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
 

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ การเรียนรู้ 3R x 7C

        ครูต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์ และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง ครูเพื่อศิษย์ต้องฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการเป็นโค้ช และเป็น“คุณอำนวย” (facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Project-BasedLearning) ของศิษย์ ซึ่งผมจะเขียนรายละเอียดเรื่อง PBL ในบทต่อ ๆ ไป ขอย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น “ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ “คุณอำนวย” ของการเรียนของศิษย์ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL นั่นหมายถึงโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน ซึ่งต้องเน้นทั้งการเรียนของนักเรียนและของครู ครูจะต้องปรับตัวมากซึ่งเป็นเรื่องยาก จึงต้องมีตัวช่วย คือ Professional Learning Communities (PLC) ซึ่งก็คือ การรวมตัวกันของครูประจำการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำหน้าที่ครูนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ วิธีสร้างการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: วิจารณ์ พานิช
ดาวน์โหลดหนังสือที่นี่ >> http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf

แหล่งที่มา :

BLOG : Chayapa WANACHAYANONT
https://blog.eduzones.com/Chayapa/140687