Monthly Archives: ธันวาคม 2015

กฎของพาสคัล

         เราได้ศึกษาแล้วว่า ความดันในของเหลวที่อยู่ในภาชนะเปิด เกิดจากความดันเกจบวกกับความดันบรรยากาศเหนือผิวของเหลว แต่ถ้ามีแรงภายนอกมากระทำต่อของเหลวที่อยู่นิ่งในภาชนะปิด ความดันในของเหลวจะเป็นอย่างไร ศึกษาได้จากเนื้อหาต่อไปนี้ครับ

         กฎของพาสคัล (Pascal’s law) กล่าวว่า “ความดันภายนอกที่กระทำต่อของเหลวที่ไม่มีการไหลและอยู่ในภาชนะปิด จะได้รับการส่งผ่านไปยังจุดต่างๆ ของของเหลวอย่างทั่วถึงและเท่ากัน”

pascal1

         กฎของพาสคัล อธิบายการทำงานของเครื่องกลผ่อนแรงที่รู้จักกันทั่วไป คือ เครื่องอัดไฮดรอลิก (hydraulic press) ซึ่งมีการได้เปรียบเชิงกลสูง

pascal2

ข้อ 2 แม่แรงยกรถยนต์เครื่องหนึ่ง มีพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบใหญ่คิดเป็น 50 เท่าของพื้นที่หน้าตัดลูกสูบเล็ก ถ้าต้องการใช้แม่แรงนี้ยกรถยนต์มวล 1500 กิโลกรัม จะต้องออกแรงกดที่ลูกสูบเล็กเท่าใด
วิธีทำ ข้อนี้โจทย์กำหนดให้ พื้นที่ A1 = 50A2 และบอก F1 มาในรูปของมวล เราต้องทำเป็นน้ำหนักเสียก่อน โดย F1 = mg
จาก

นั่นคือ ต้องออกแรงกดที่ลูกสูบเล็ก 300 นิวตัน

เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง กฎของพาสคัล
http://www.slideshare.net/uwijitta/2-40494752

ตัวอย่างการคำนวณเกี่ยวกับกฏของพาสคัลไปใช้ครับ

ตัวอย่างการนำความรู้เกี่ยวกับกฏของพาสคัลไปใช้ครับ

แล้วเด็ก ม.6 เราจะทำบ้างได้หรือไม่

ที่มา :
https://sites.google.com/site/xoongfong/kd-khxng-phas-khal

กฏของปาสคาล (Pascal’s Law)


http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/15/9/Fluid/pascal.htm

Click to access 04_pascal_law.pdf

http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1667-%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81?groupid=273

 

****************************************************

ถ้านักเรียนมีคำถามหรือข้อสงสัยใด
ให้นักเรียนถามได้ในโพสต์นี้เลย
หรือไปที่กลุ่มเรียนฟิสิกส์ ม.6 ปี 2558 

https://www.facebook.com/groups/458487757652783/

GroupPhysicsM658

หรือแฟนเพจเรียนฟิสิกส์ ม.6 กับครูสมพร
ได้เลยนะครับ 

https://www.facebook.com/groups/458487757652783/

FanpagePhysicsM6

เครื่องมือวัดความดัน

สวัสดีครับ นักเรียนที่น่ารักทุกคน สำหรับหัวข้อนี้เราจะศึกษาเครื่องมือวัดความดันในของไหล จะเป็นอย่างไรมาติดตามได้เลยครับ

การวัดความดัน (Pressure measurement)

อุปกรณ์วัดความดันของของไหลที่นิยมใช้กันมี 2 ประเภท คือ
1. แมนอมิเตอร์ (Manometer)
2. เบาวน์ดันเกจ (Boundon gauge)

1. แมนอมิเตอร์ เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้หลักการสมดุลของลำของเหลวที่ต้องการวัดความดันกับลำของของเหลวอย่างเดียวกัน หรือต่างชนิดกัน แบ่งออกเป็น
          1.1 แมนอมิเตอร์อย่างง่าย ประกอบด้วยหลอดแก้วปลายเปิด 2 ด้าน ปลายข้างหนึ่งต่อเข้ากับจุดที่ต้องการวัดความดัน ปลายอีกด้านหนึ่งเปิดสู่บรรยากาศ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไพโซมิเตอร์ แมนอมิเตอร์แบบหลอดแก้วรูปตัวยู

 

รูปตัวอย่างไพโซมิเตอร์ที่ใช้วัดความดันของของไหลในท่อ

ไพโซมิเตอร์เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่ใช้วัดความดันของของไหล ประกอบด้วยหลอดแก้วยาวที่มีปลายข้างหนึ่งติดตั้งเข้ากับผนังท่อหรือภาชนะที่ต้องการวัดความดันของของไหล ปลายอีกด้านจะชี้ขึ้นด้านบนด้วยความยาวประมาณที่ของไหลในท่อจะไม่ล้นออกมา ระดับความสูงของของเหลวในหลอดจะบอกถึงความดัน

แมนอมิเตอร์แบบหลอดแก้วรูปตัวยู

เนื่องจากเมื่อใช้ไพโซมิเตอร์วัดความดันของของไหลที่มีน้ำหนักเบา จะต้องใช้หลอดแก้วขนาดยาวมากทำให้ไม่สะดวกและยุ่งยากในการวัด อีกทั้งยังใช้วัดความดันของแก๊สไม่ได้ แก๊สจะฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศ จึงต้องเปลี่ยนมาใช้แมนอมิเตอร์แบบหลอดแก้วรูปตัวยู ปลายข้างหนึ่งต่อเข้ากับจุดที่ต้อ การวัด ปลายอีกด้านเปิดสู่บรรยากาศ ภายในหลอดแก้วบรรจุของเหลวที่มีความถ่งจำเพาะมากกว่าของเหลวที่ต้องการวัด ของเหลวที่นิยมใช้ คือ ปรอท น้ำมัน น้ำเกลือ เป็นต้น ของเหลวนี้จะเป็นตัวบ่งบอกความดันของของไหลภายในท่อหรือภาชนะที่ต้องการวัด ซึ่งจะอ่านเป็นค่าระดับความสูงของของเหลวภายในหลอดแก้วและความสูงของของไหลที่ต้องการวัด แล้วนำมาเข้าสมการเพื่อคำนวณความดันในของไหลต่อไป
แมนอมิเตอร์ชนิดปลายปิดก็สามารถใช้วัดความดันของแก๊สได้เช่นเดียวกัน โดยลำความสูงของปรอทที่แตกต่างกันของท่อทั้งสอง («math xmlns=¨http://www.w3.org/1998/Math/MathML¨»«mo»§#9651;«/mo»«/math»h) เป็นความดันของแก๊สโดยตรง

เช่นในรูป ถ้า «math xmlns=¨http://www.w3.org/1998/Math/MathML¨»«mo»§#9651;«/mo»«/math»h = 500 มิลลิเมตร ความดันของแก๊สก็เท่ากับ 500 mmHg

          1.2 แมนอมิเตอร์แบบวัดความต่าง แมนอมิเตอร์แบบความแตกต่างมักจะใช้วัดความดันแตกต่างระหว่าง 2 จุด หลักการคำนวณใช้หลักการคำนวณเหมือนแมนอมิเตอร์แบบหลอดแก้วรูปตัวยู โดยพิจารณาที่ตำแหน่งระดับความลึกของของเหลวชนิดเดียวกันที่ตำแหน่งนี้จะมีความดันเท่ากัน

รูปแมนอมิเตอร์แบบวัดความต่าง

           1.3 แมนอมิเตอร์แบบเอียง ในการวัดความดันของของไหลที่มีความดันไม่มาก ถ้าใช้แมนอมิเตอร์ธรรมดาวัดจะอ่านค่าได้ไม่ละเอียด จึงต้องมาใช้แมนอมิเตอร์ที่สามารถอ่านค่าได้แม้ว่าความดันจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยก็ตาม แมนอมิเตอร์ที่นิยมใช้ก็คือ แมนอมิเตอร์แบบเอียง ค่าความแตกต่างที่วัดได้จะวัดออกมาเป็นความยาวของของเหลวภายในหลอดแก้ว แล้วนำมาคำนวณค่าความดันที่แตกต่างกันต่อไป

รูปแมนอมิเตอร์แบบเอียง

2. เบาวน์ดันเกจ
ถึงแม้ว่าแมนอมิเตอร์จะมีการนำไปใช้กันอย่างกว้างขวางแต่ก็ไม่เหมาะที่จะใช้วัดความดันสูงๆ หรือใช้วัดงานที่มีความดันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา จึงมีการนำเบาวน์ดันเกจมาใช้ในงานลักษณะดังกล่าวแทน โดยหลักการทำงานของเบาวน์ดันเกจ คือ เมื่อต้องการวัดจะนำเกจไปต่อเข้ากับภาชนะบรรจุของไหล เช่ยการวัดความดันของออกซิเจนภายในถัง หลังจากต่อแล้วเมื่อเปิดวาล์วของไหลภายในภาชนะจะไหลเข้สไปในท่อของเบาวน์ดัน ท่อเบาว์นดันจะยืดตัวออกมีผลทำให้เข็มที่ต่อกับท่อเบาวน์ดันเกิดการเคลื่อนที่ไปตามสเกลบนหน้าปัด และสามารถอ่านค่าความดันได้ตามตัวเลขที่แสดงไว้

รูปแสดงการใช้อุปกรณ์วัดความดันทั้งแมนอมิเตอร์และเบาวน์ดันเกจ
ที่มา : การวัดความดันของของไหล
URL : http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1668-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5?groupid=273
 
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. Manometer / มาโนมิเตอร์

 

****************************************************

ถ้านักเรียนมีคำถามหรือข้อสงสัยใด
ให้นักเรียนถามได้ในโพสต์นี้เลย
หรือไปที่กลุ่มเรียนฟิสิกส์ ม.6 ปี 2558 

https://www.facebook.com/groups/458487757652783/

GroupPhysicsM658

หรือแฟนเพจเรียนฟิสิกส์ ม.6 กับครูสมพร
ได้เลยนะครับ 

https://www.facebook.com/groups/458487757652783/

FanpagePhysicsM6

วิธีการใช้งานเวอร์เนียคาลิปเปอร์

          สวัสดีครับ นักเรียน ม.4 ที่น่ารักทุกคน สำหรับหัวข้อนี้เราจะศึกษาวิธีการใช้งานเวอร์เนียคาลิปเปอร์ ถ้านักเรียนพร้อมแล้วครับ

เวอร์เนียร์

เวอร์เนีย หรือ เวอร์เนียคาลิปเปอร์ (Vernier Caliper) เป็นเครื่องมือที่มีความแม่นยำที่สามารถใช้ในการวัดระยะทั้งภายในและภายนอกอย่างถูกต้อง ตัวอย่างที่แสดงด้านล่างเป็นคู่มือการใช้เวอร์เนียแบบอนาลอกซึ่งการวัดจะถูกตีความจากสเกล โดยผู้ใช้เวอร์เนียชนิดนี้มีความยากกว่าการใช้เวอร์เนียคาลิปเปอร์แบบดิจิตอลที่มีจอแสดงผลดิจิตอลที่อ่านจะปรากฏขึ้นรุ่นที่ใช้มีทั้งขนาดอิมพีเรียล (นิ้ว) และเมตริก (มิลลิเมตร)

เวอร์เนียแบบอนาลอกยังคงสามารถซื้อได้อยู่และยังคงเป็นที่นิยมเพราะมีมากราคาถูกกว่ารุ่นดิจิตอล นอกจากนี้ระบบดิจิตอลต้องใช้แบตเตอรี่ในขณะที่แบบอนาลอกไม่จำเป็นต้องมีแหล่งพลังงานใด ๆ

ขั้นตอนการใช้งานพื้นฐานดังนี้

1. การเตรียมความพร้อมก่อนที่จะใช้วัดให้คลายสกรูล็อคและเลื่อนแถบเลื่อนเพื่อตรวจสอบว่าเวอร์เนียสเกลทำงานอย่างถูกต้อง ก่อนที่จะวัดการทำให้แน่ใจว่าคาลิปเปอร์อ่าน 0 เมื่อเลื่อนปิดอย่างเต็มที่ ถ้าอ่านไม่ได้เป็น 0 ปรับขากรรไกรหนาจนกระทั่งคุณอ่านได้ค่าศูนย์ ถ้าคุณไม่สามารถปรับคาลิปเปอร์ได้คุณจะต้องจำไว้ว่าจะเพิ่มลบที่ถูกต้องชดเชยจากการอ่านครั้งสุดท้ายของคุณ ทำความสะอาดพื้นผิวที่วัดของทั้งสองเวอร์เนียคาลิปเปอร์และวัตถุจากนั้นคุณสามารถใช้การวัด

2. ปิดขากรรไกรเบา ๆ บนสิ่งที่คุณต้องการที่จะวัด หากคุณกำลังวัดบางสิ่งบางอย่างให้แน่ใจว่าแกนของส่วนหนึ่งจะตั้งฉากกับคาลิปเปอร์ กล่าวคือให้แน่ใจว่าคุณมีการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเต็มรูปแบบ เวอร์เนียมีขากรรไกรคุณสามารถวางรอบวัตถุและขากรรไกรด้านอื่น ๆ ที่ทำเพื่อให้พอดีกับภายในวัตถุ เหล่านี้ขากรรไกรรองสำหรับการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของวัตถุ นอกจากนี้ยังมีบาร์แข็งยื่นออกมาจากคาลิปเปอร์ในขณะที่คุณเปิดที่สามารถใช้ในการวัดความลึก

วิธีการอ่านค่าที่วัดได้:

1. อ่านเครื่องหมายเซนติเมตรในระดับคงที่ทางด้านซ้ายของ 0 เครื่องหมายบนสเกลเวอร์เนีย (10mm บนคงที่คาลิปเปอร์)

อ่านค่าเวอร์เนียร์

2. ค้นหาเครื่องหมายมิลลิเมตรในระดับคงที่ที่เป็นเพียงทางด้านซ้ายของ 0 เครื่องหมายบนสเกลเวอร์เนีย (6mm เมื่อคงที่คาลิปเปอร์)

อ่านค่าเวอร์เนียหลัก 1

3. ดูตามเครื่องหมายบนสเกลเวอร์เนียและเครื่องหมายมิลลิเมตรในระดับคงที่ที่อยู่ติดกันจนกว่าคุณจะพบว่าเส้นสองมากที่สุดเกือบ (0.25mm บนสเกลเวอร์เนีย)

อ่านค่าเวอร์เนียหลัก 2

4. ค่าที่จะได้รับการอ่านที่ถูกต้องเป็นดังนี้ (10  + 6  + 0.25 = 16.25 มม. )

อ่านค่าเวอร์เนียหลัก 3

ที่มา : วิธีการใช้งานเวอร์เนียคาลิปเปอร์
URL :
http://www.tcmech.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html

TCmech.com

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. วิธีการใช้งานเวอร์เนียคาลิปเปอร์

http://www.tcmech.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html

2. ทบทวนการอ่านเวอร์เนียร์คาร์ลิปเปอร์
http://www.eng.ubu.ac.th/home/gtutor/2012/09/13/%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3/

****************************************************

ถ้านักเรียนมีคำถามหรือข้อสงสัยใด
ให้นักเรียนถามได้ในโพสต์นี้เลย
หรือไปที่กลุ่มเรียนฟิสิกส์ ม.4 กับครูสมพร ปี 2558 

https://www.facebook.com/groups/1655581317996243/

GroupPhysicsM458

หรือแฟนเพจเรียนฟิสิกส์ ม.4 กับครูสมพร
ได้เลยนะครับ 

https://www.facebook.com/physicsm4krutee/

FanpagePhysicsM4

 

ความดันในของไหล

สวัสดีครับ นักเรียนที่น่ารักทุกคน
สำหรับหัวข้อนี้เราจะทบทวนเกี่ยวกับประเภทของความดันในของไหล
จะเป็นอย่างไรมาติดตามได้เลยครับ

ถ้านักเรียนมีคำถามหรือข้อสงสัยใด
ให้นักเรียนถามได้ในโพสต์นี้เลย
หรือไปที่กลุ่มเรียนฟิสิกส์ ม.6 ปี 2558 

https://www.facebook.com/groups/458487757652783/

GroupPhysicsM658

หรือแฟนเพจเรียนฟิสิกส์ ม.6 กับครูสมพร
ได้เลยนะครับ 

https://www.facebook.com/groups/458487757652783/

FanpagePhysicsM6